อาจารย์หมอจุฬาฯ โพสต์เตือนโควิด-19 ส่อระบาดถึงกลางปีหน้า

0
673

รองศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ระบุถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยแสดงความเป็นห่วงมาตรการจัดการของรัฐบาลที่ยังไม่ดีพอ ซึ่งอาจทำให้โควิด-19 ระบาดยาวนานไปถึงกลางปีหน้า

“ดูท่าศึกระบาดซ้ำซากนี้อาจยาวนานไปถึงกลางปีหน้าเป็นอย่างน้อย ด้วยเหตุผลสองประการหลักคือ

หนึ่ง เราใช้ไม้นวมกับโควิด-19 ระลอกสองนี้หวังให้มันเชื่องไปเอง ทำให้โอกาสคุมได้อยู่หมัดคงจะยาก เพราะไม่มีประเทศใดทำได้สำเร็จด้วยวิธีทำมาหากินไปพร้อมกับโรคระบาด อย่างมากที่สุดที่ทำได้ก็คงลดทอนลง และรอวันปะทุซ้ำ ทั้งนี้ขึ้นกับว่าจะกดไปได้เหลือหลักร้อยไปเรื่อยๆ หรือน้อยไปถึงหลักสิบหรือหลักหน่วย โอกาสปะทุก็จะแปรผันไปตามนั้น ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ก็จะเหลือเพียงต้องปรับแบบแผนการดำเนินชีวิต ทั้งเรื่องธุรกิจค้าขายและบริการ และอื่นๆ ให้ลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากไม่ปรับอย่างจริงจังแบบที่เห็นในช่วงที่ผ่านมา การระบาดซ้ำก็จะตามมาอย่างแน่นอน

สอง แผนการจัดซื้อจัดหาวัคซีน ตามที่ประกาศมาคือ 2 ล้านโดส สำหรับ 1 ล้านคนของวัคซีน Sinovac จากจีน และ 26 ล้านโดสสำหรับ 13 ล้านคนจากการผลิตวัคซีนของ Astrazeneca/Oxford

สมมติว่าฉีดครบถ้วนภายในสิ้นปีตามแผนภาพฝันที่กระทรวงวางไว้ โอกาสที่จะเกิดภูมิคุ้มกันในคนรวม 14 ล้านคน จากทั้งประเทศที่มี 66.56 ล้านคน (รวมเด็ก 11 ล้านซึ่งไม่ได้ฉีดวัคซีน) ก็จะมีภูมิคุ้มกันได้ราว 10 ล้านคน (คิดเฉลี่ยจาก Sinovac ราว 78% และ Astra/Oxford ราว 70%) คำนวณก็จะพบว่ามีภูมิคุ้มกันเพียง 14.8% ของประชากรทั้งประเทศ หรือ 17.8% ของประชากรผู้ใหญ่ การจะสกัดยับยั้งไม่ให้โรคนี้ระบาดวงกว้าง จำเป็นจะต้องทำให้ประชากรในประเทศมีภูมิคุ้มกันอย่างน้อย 60% ของประชากร

ส่วนกรณีที่คนติดเชื้อแล้วจะมีภูมิเองนั้นคงมีจำนวนน้อย ยังไงก็รวมกับกลุ่มที่ได้วัคซีนแล้วก็ยังไม่ถึงระดับที่จะยับยั้งการระบาดได้แม้ในปีถัดไป หากพยายามหามาฉีดเพิ่มอีกเท่าตัว เช่น อีก 26 ล้านโดสสำหรับอีก 13 ล้านคน ก็จะมีระดับภูมิคุ้มกันหมู่รวมได้ประมาณ 39% ของประชากรทั้งประเทศ หรือ 46.8% ของประชากรผู้ใหญ่

ที่วิเคราะห์มานั้น เพื่อชี้ให้เห็นว่า เมื่อเราเห็นฉากในอนาคตลักษณะนี้ ถ้าตัดสินใจได้ ควรตัดสินใจ”กำราบการระบาดซ้ำครั้งนี้อย่างเต็มที่”ครับ หากปล่อยให้ยืดเยื้อยาวนาน โอกาสลืมตาอ้าปากได้คงลำบากทีเดียวตัดสินใจ Regional lockdown แบบไม่มัวแต่เขินหรือกลัวกับการใช้คำว่าล็อคดาวน์ จะใช้คำอะไรก็ได้ ขอให้สรรหามาใช้เอาที่สบายใจ แต่ขอให้ทำสิ่งที่ควรทำคือ

หนึ่ง หยุดการเคลื่อนที่ของประชากรในกลุ่มจังหวัดรายภาคทั้งสีแดงเข้ม แดง ส้ม อย่างน้อย 2-4 สัปดาห์

สอง หยุดกิจการกิจกรรมทุกอย่างที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อรับเชื้อระหว่างกัน เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

สาม ใช้เวลา 2-4 สัปดาห์ ตะลุยตรวจคัดกรองให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ (active case finding)

สี่ ประกาศให้คนสังเกตอาการตนเองและครอบครัว หากสงสัยให้รีบมาตรวจ

ห้า ประกาศนโยบายหน้ากาก 100%, อยู่บ้านหยุดเชื้อเพื่อชาติ, และทำงานที่บ้าน 2-4 สัปดาห์…ไม่ใช่แค่ขอความร่วมมือ

ทำตอนนี้ยังพอมีโอกาส…

แต่หากทำแบบหมาหยอกไก่ไปเรื่อยๆ หมาและไก่จะมีโอกาสติดโควิดตายกันทั้งคู่

ขอให้เราทุกคนใช้ชีวิตอย่างมีสติ ป้องกันตัวเองอย่างเคร่งครัดนะครับ

อยากให้ประเทศไทยพ้นวิกฤตินี้ไปให้ได้…

ด้วยรักต่อทุกคน”

ขอบคุณ ที่มา : Thira Woratanarat

สั่งจองนิตยสาร Howe โดยไม่ต้องรอหาตามแผงสั่งได้ที่

Line : Howemagazine
  Fanpage : Howemagazine
รายละเอียดการสั่ง (คลิ๊ก)

  อ่านนิตยสาร Howe Magazine ออนไลน์ได้ที่

Ookbee-Logo
LOGO-MEB-2017
Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.