ฟอร์ติเน็ต เผยผลสำรวจสถาปัตยกรรม SASE ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ชี้การทำงานแบบ “Branch-Office-of-One” ท้าทายความปลอดภัยเน็ตเวิร์กในยุคการทำงาน Hybrid Work การสำรวจเน้นย้ำความสำคัญของ Single-Vendor-SASE เพื่อช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับพนักงานที่ทำงานจากระยะไกลท่ามกลางอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการจัดการ (Unmanaged) จำนวนมากและการโจมตีด้านความปลอดภัยที่เพิ่มมากขึ้น

0
335

ฟอร์ติเน็ต ผู้นำด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลกที่ขับเคลื่อนการผสานกันของระบบเน็ตเวิร์กกิ้งและซีเคียวริตี้ เผยผลการสำรวจสถาปัตยกรรม SASE ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครั้งใหม่ที่ดำเนินการโดยไอดีซี ด้วยการสนับสนุนจากฟอร์ติเน็ต โดยรายงานอ้างอิงผลการสำรวจล่าสุดที่จัดทำใน 9 ประเทศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เพื่อสำรวจมุมมองของผู้นำด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้เกี่ยวกับการทำงานในแบบไฮบริด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาที่มีต่อองค์กร ตลอดจนสำรวจกลยุทธ์ต่างๆ ที่ผู้นำเหล่านี้นำมาใช้ในการบรรเทาความท้าทายด้านความปลอดภัยที่เกิดจากการปรับใช้การทำงานแบบไฮบริดในองค์กร โดยข้อมูลสำคัญที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้รวมถึง

  • การเพิ่มสูงขึ้นของ ‘Branch-Office-of-One’ หรือ สาขาส่วนบุคคล โดยจากการสำรวจพบว่า 96% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยมีรูปแบบการทำงานแบบไฮบริด หรือมีการทำงานจากระยะไกลแบบเต็มรูปแบบ โดยประมาณ 44% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีพนักงานในองค์กรอย่างน้อย 50% ที่ทำงานในแบบไฮบริด ซึ่งการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปสู่ไปทำงานแบบทางไกลส่งผลให้พนักงานกลายเป็น ‘สำนักงานสาขา’ โดยสามารถทำงานจากที่บ้านหรือที่อื่น ๆ นอกเหนือจากการทำงานในออฟฟิศแบบดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ 80% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยจึงคาดว่าจะมีอุปกรณ์ที่มีการจัดการ (Managed) เพิ่มขึ้นมากกว่า 100% ในอีกสองปีข้างหน้า (โดยบางส่วนคาดว่าจะเติบโตถึง 400%) ขณะเดียวกัน 64% คาดว่าอุปกรณ์ที่ไม่ได้รับการจัดการ (Unmanaged) จะมีการเติบโตถึงมากกว่า 50% ซึ่งเป็นที่คาดว่าจะเพิ่มความซับซ้อนและความเสี่ยงการละเมิดด้านความปลอดภัย อีกทั้งยังเพิ่มความตึงเครียดและภาระที่สูงเกินไปให้กับทีมรักษาความปลอดภัยด้านไอทีอีกด้วย
  • อุปกรณ์ที่ไม่มีการจัดการก่อให้เกิดความเสี่ยง เมื่อคลาวด์ คอมพิวติ้งและการทำงานจากระยะไกลแพร่หลายมากขึ้น การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้ อุปกรณ์ ตลอดจนข้อมูลต่างๆ ถูกจัดเก็บอยู่ภายนอกเอ็นเทอร์ไพรซ์เน็ตเวิร์กมีเป็นจำนวนมาก ปัจจุบัน 30% ของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับเครือข่ายในประเทศล้วนไม่ได้รับการจัดการ ส่งผลต่อความเป็นไปได้ในการละเมิดด้านความปลอดภัย ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้น โดย 64% คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 50% ภายในปี 2568
  • ความจำเป็นในการรักษาความปลอดภัยบนคลาวด์ จากการทำงานในรูปแบบไฮบริดที่เพิ่มมากขึ้น พนักงานต้องการใช้การเชื่อมต่อไปยังระบบภายนอก รวมถึงการใช้คลาวด์ ตลอดจนแอปพลิเคชันคลาวด์ เพื่อให้ยังคงความสามารถในการทำงานและสร้างผลงาน ผู้ตอบแบบสำรวจในประเทศไทยระบุว่าพนักงานของพวกเขาต้องการการเชื่อมต่อกับคลาวด์แอปพลิเคชันของบุคคลที่สาม (Third-Party) มากกว่า 40 รายการ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกละเมิดด้านความปลอดภัย และในอีกสองปีข้างหน้า 100% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นถึงสองเท่า ในขณะที่ผู้ตอบมากกว่า 60% เชื่อว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า ซึ่งมีผลต่อความเสี่ยงที่จะรุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้การดูแลรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายไปพร้อมกับการสร้างความมั่นใจในการเชื่อมต่อของพนักงานไปยังบุคคลที่สามและบริการบนคลาวด์เป็นความท้าทายที่สำคัญ เนื่องจากมาตรการรักษาความปลอดภัยแบบเดิมยังไม่เพียงพอ
  • การเพิ่มขึ้นของภัยคุกคามด้านความปลอดภัย เนื่องจากการทำงานในรูปแบบไฮบริดและการเติบโตของการเชื่อมต่อเข้าสู่เน็ตเวิร์กทั้งที่ได้รับการจัดการและไม่ได้รับการจัดการ ส่งผลต่อการเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของภัยคุกคามด้านซีเคียวริตี้ โดย 34% ขององค์กรที่ตอบรับการสำรวจในประเทศไทยระบุการละเมิดมากกว่าถึงสามเท่า และจากการสำรวจพบว่า 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยเคยประสบกับการโจมตีด้านความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2 เท่า โดยรูปแบบการโจมตีซีเคียวริตี้ที่อยู่ในอันดับต้นๆ คือ การทำฟิชชิง การปฏิเสธการบริการ การโจรกรรมข้อมูลและข้อมูลส่วนบุคคล แรนซัมแวร์ และการสูญหายของข้อมูล อย่างไรก็ตาม มีเพียง 49% ขององค์กรทั่วเอเชียเท่านั้นที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะ ซึ่งทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยและการละเมิดที่มากขึ้น
  •  สถาปัตยกรรม SASE จุดเปลี่ยน (Game-Changer) ของการทำงานแบบไฮบริด คือสิ่งที่องค์กรธุรกิจในไทยวางแผนที่จะนำมาใช้เพื่อรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นจากการทำงานแบบไฮบริดด้วยการลงทุนในโซลูชัน Single-Vendor SASE เพื่อปรับปรุงมาตรการรักษาความปลอดภัยและให้ประสบการณ์การใช้งานที่มั่นคงต่อเนื่องต่อคนทำงานจากระยะไกล ความต้องการโซลูชันที่ครอบคลุมที่ให้รูปแบบการรักษาความปลอดภัยที่สอดคล้องกันสำหรับผู้ใช้ที่อยู่ทั้งในและนอกเครือข่าย ในขณะที่ช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการนโยบายด้านความปลอดภัยและเสริมประสบการณ์ผู้ใช้สำหรับคนทำงานจากระยะไกล คือสิ่งที่ผลักดันให้หลายองค์กรธุรกิจหันมาให้ความสนใจในการใช้งาน SASE
  • การให้ความสำคัญต่อผู้จำหน่ายเพียงรายเดียว (Single Vendor) เพราะการที่องค์กรธุรกิจต่างๆได้นำเอา SASE เข้ามาปรับใช้เพื่อจัดการระบบเครือข่ายและบริการด้านการรักษาความปลอดภัย ทำให้องค์กรต่างมองหา SASE เพื่อเข้ามาใช้เพื่อจัดการเครือข่ายและบริการรักษาความปลอดภัย ตลอดจนพิจารณาแพลตฟอร์มที่จะเข้ามาช่วยปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยจากการสำรวจพบว่า 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามในประเทศไทยต้องการผู้จำหน่ายเพียงรายเดียวสำหรับความสามารถด้านเน็ตเวิร์กกิ้งและซีเคียวริตี้ ในขณะที่ 52% กำลังอยู่ระหว่างการรวมเวนเดอร์ด้านไอทีซีเคียวริตี้เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่ง (68%) ยังต้องการผู้ขายเพียงรายเดียวสำหรับบริการรักษาความปลอดภัยผ่านคลาวด์ และ SD-WAN โดยระบุถึงผลประโยชน์ต่างๆ ที่ได้รับ อาทิ ช่องว่างด้านความปลอดภัยที่ลดลง ประสิทธิภาพเครือข่ายที่ดีขึ้น ความง่ายในการปรับใช้ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาความท้าทายจากการบูรณาการและความสามารถในการปรับขยายขีดความสามารถในการทำงาน

ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า “ประเทศไทยยังคงมุ่งหน้าไปสู่อนาคตทางดิจิทัลเพื่อกลายเป็นผู้นำในเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้กลายเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งที่เราต้องรับทราบถึงอัตราความถี่และความซับซ้อนในการโจมตีทางไซเบอร์ ตลอดจนการละเมิดข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น การขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะในอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์คือสิ่งที่ยิ่งทำให้ปัญหานี้ยิ่งมีความท้าทายเพิ่มสูงขึ้น ที่ฟอร์ติเน็ต เรามุ่งมั่นที่จะเชื่อมช่องว่างทางทักษะ (Skill Gap) การให้ความรู้และการตระหนักรู้ที่เกี่ยวกับไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่จำเป็นแก่คนทำงานทั้งหมดที่อยู่ในองค์กร ด้วยโซลูชัน Single-Vendor SASE ของเรา เรามีเป้าหมายในการช่วยลดความซับซ้อนในการจัดการนโยบายความปลอดภัย พร้อมทั้งยกระดับประสบการณ์ผู้ใช้ให้กับคนทำงานจากระยะไกล เพื่อช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ของประเทศสามารถรับมือกับความท้าทายด้านความปลอดภัยของคนทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลง”

ราชิช แพนเดย์ รองประธานฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร ภูมิภาคเอเชีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ กล่าวว่า “ในขณะที่โลกเปลี่ยนไปสู่การทำงานในแบบไฮบริด องค์กรธุรกิจต่างต้องเผชิญกับความท้าทายในการรักษาความปลอดภัยของสภาพแวดล้อมการทำงานที่มาในรูปของ สาขาส่วนบุคคล (‘Branch-Office-of-One) ที่ซึ่งคนทำงานและอุปกรณ์ต่างๆ ล้วนทำงานอยู่ภายนอกของพื้นที่การทำงานปกติ งานวิจัยครั้งนี้เน้นย้ำถึงความเร่งด่วนสำหรับองค์กรในการปรับใช้กลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยที่ครอบคลุมที่จะเข้ามาช่วยจัดการทั้งความซับซ้อนและความเสี่ยงที่เกิดจากการเติบโตของการทำงานจากระยะไกล (Remote Work) จากการสำรวจ เห็นได้ชัดเจนว่า Single-Vendor SASE ที่มาพร้อมความสามารถในการควบรวมระบบเน็ตเวิร์กและความปลอดภัยเข้าด้วยกัน คือสิ่งที่พิสูจน์ว่ากำลังจะเข้ามาเป็นจุดเปลี่ยน หรือ Game-Changer สำหรับหลายๆ องค์กรที่กำลังมองหามาตรการรักษาความปลอดภัยที่เรียบง่ายและมั่นคงสำหรับผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอกเครือข่ายทั้งหมด”

ไซมอน พิฟฟ์ รองประธานฝ่ายวิจัย ไอดีซี เอเชีย/แปซิฟิก กล่าวว่า “ผลลัพธ์ที่ได้จากการสำรวจเน้นไปที่ความสำคัญของการจัดลำดับความสำคัญมาตรการรักษาความปลอดภัยและการลงทุนในโซลูชันที่ให้การทำงานบนคลาวด์ที่บูรณาการเข้ากับโซลูชันแบบ On-Prem ได้อย่างราบรื่นเพื่อจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานแบบไฮบริด รวมทั้งช่วยลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น แนวโน้มความพึงพอใจที่มีต่อการใช้เวนเดอร์เพียงรายเดียว รวมทั้งโครงสร้างพื้นฐานที่หลอมรวมเข้าด้วยกัน (Infrastructure Convergence) แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดถึงความต้องการการจัดการที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงสถาปัตยกรรมแบบ Zero-Trust ที่สามารถพัฒนาการปรับใช้และเสริมประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ องค์กรธุรกิจต่างต้องการที่จะจัดการปัญหาความท้าทายต่างๆ รวมไปถึงการลงทุนในโซลูชันด้านการรักษาความปลอดภัยทั้งเพื่อรองรับกลุ่มคนทำงานในรูปแบบไฮบริดและลดภัยคุกคามด้านความปลอดภัย”

ภาพรวมของการสำรวจข้อมูล

การสำรวจเกิดขึ้นด้วยการพูดคุยกับผู้นำด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้จำนวน 450 คนจาก 9 ประเทศทั่วทั้งเอเชีย ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เวียดนาม และประเทศไทย

ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสำรวจคือผู้ประกอบการจาก 9 อุตสาหกรรมสำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต (14 เปอร์เซ็นต์) ค้าปลีก (13 เปอร์เซ็นต์) โลจิสติกส์ (14 เปอร์เซ็นต์) การบริการดูแลสุขภาพ หรือเฮลธ์แคร์ (13 เปอร์เซ็นต์) บริการทางการเงิน หรือ FSI (10 เปอร์เซ็นต์) และภาครัฐ (11 เปอร์เซ็นต์)

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.