“หมอธีระ” แนะ 5 ข้อคุมโควิด-19 ชี้หากสางปัญหาไม่ได้ อ่วมแน่

0
773

วันที่ 6 เมษายน 2564 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat เผยตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก ที่พุ่งทะลุ 132 ล้านราย อย่างรวดเร็ว โดย 5 อันดับแรก ได้แแก่ อเมริกา , บราซิล , อินเดีย , ฝรั่งเศส และรัสเซีย มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 หลายหมื่นคนต่อวัน ขณะที่ไทย ติดเพิ่มหลักร้อยต่อวัน

นอกจากนี้ รศ.นพ.ธีระ ยังได้แนะนำ 5 สิ่ง ที่ควรทำ ท่ามกลางไวรัสโควิด-19 กลับมาระบาดอีกรระลอก โดยมีเนื้อหา ดังนี้

…วาทกรรม “ไม่ให้ทำอะไร ที่กระทบต่อส่วนรวมโดยไม่จำเป็น”…นั้นจำเป็นต้องแปลความให้ดี


หากหน้ามืดตามัวปั่นนโยบายหาเงินแลกความเสี่ยง ก็มักแปลความว่า ฉันจะต้องทำทุกอย่างที่จะไม่ใช้มาตรการควบคุมอย่างเคร่งครัด ผลลัพธ์ก็จะออกมาในแบบระบาดอย่างหนักหน่วง

แต่วาทกรรมข้างต้น หากคิดให้รอบคอบ จะแปลความได้อีกอย่างคือ ถ้ามันระบาดกันระเบิดระเบ้อ กระจายไปทั่ว ก็ควรเลิกทำเลิกเข็นนโยบายหาความเสี่ยงเข้าประเทศ…เลิกหลอกตัวเองว่าคุมได้ เอาอยู่…เลิกมาตรการสนับสนุนให้ประกอบกิจการที่เสี่ยง นิวนอร์มัลแบบหลอกๆ…และรู้ก็รู้ เห็นกันอยู่โต้งๆ ว่า หยุดยาว คนจะเดินทางกันมากมาย และจะจัดงานประเพณีกันอีก การอ้อมแอ้มออกมาตรการหน่อมแน้ม ให้ทำกันต่อไปนั้นมันสมควรหรือไม่…เพราะที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น มันคือสิ่งที่ทำให้เกิดผลกระทบต่อส่วนรวมชัดเจน


วิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน บอกได้ว่าเป็นเพียงน้ำจิ้มโหมโรง เพราะของจริงจะหนักกว่านี้ หากไม่สามารถจัดการปัญหาได้


สิ่งที่เราควรทำคือ


หนึ่ง “ยอมรับความจริง”ว่า ตัดวงจรระบาดไม่ได้ ระบาดกระจายไปทั่ว คุมไม่อยู่ ป้องกันไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ศักยภาพเชิงระบบนั้นจำกัด และนโยบายที่เข็นอยู่นั้นเปิดประตูความเสี่ยงทั้งภายในประเทศและจากต่างประเทศ


สอง “ทบทวนนโยบาย หยุดหรือชะลอนโยบายที่ทำให้เกิดความเสี่ยงทั้งในและต่างประเทศ” ยอมกลืนน้ำลายเพื่อรักษาสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของทุกคนในประเทศ เพราะการระบาดขณะนี้วิกฤติมาก


สาม “ปฏิรูประบบและรูปแบบการดำเนินกิจการธุรกิจเสี่ยง” เพราะที่ผ่านมากฎระเบียบมีไว้ประดับ บังคับใช้ไม่ได้จริง เราจึงเห็นว่าพอผ่อนคลายให้เปิดกิจการ คนแออัด แชร์แก้วแชร์บุหรี่ สัมผัสใกล้ชิด การระบายอากาศไม่ดี ก็ยังเป็นเช่นเดิมไม่มากก็น้อย จนนำมาสู่การระบาดหนัก หากปรับรูปแบบดำเนินการไม่ได้ ก็จะระบาดกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าไปเรื่อยๆ ยากที่จะลืมตาอ้าปาก หน้าที่ควรเป็นของทุกคน ทั้งเจ้าของกิจการ และลูกจ้างที่ควรตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและสังคม ถ้าอยากทำงานหากินได้ยาวๆ ก็ต้องทำให้ได้ครับ

รูปแบบกิจการบันเทิงต่างๆ นั้น เสี่ยงทั้งความใกล้ชิด ความแออัด มึนเมาขาดสติในการป้องกันตัว ด้วยการระบาดของโรคนี้ เป็นไปไม่ได้ที่จะทำรูปแบบเดิม หรือแม้แต่นิวนอร์มัลแบบหน่อมแน้ม กิจการจำเป็นต้องลดจำนวนคน ปรับสถานที่อย่างมาก และสังคายนารูปแบบบริการ จึงจะสามารถประคับประคองตัวให้อยู่รอดปลอดภัยได้ สังคมปัจจุบันทุกคนล้วนได้รับผลกระทบจากโรคระบาด ก็ต้องปรับตัวกัน


สี่ “เลิกเล่นวาทกรรม” ไม่ว่าจะเป็นระลอกใหม่ ระลอกใหม่กว่า ระลอกใหม่ที่สุด ระลอกสองของรอบใหม่ หรืออะไรก็แล้วแต่ ดูกันตามจริง นับกันเป็นคลื่น ปีก่อนเจอคลื่นแรกตอนต้นปี คลื่นสองตอนปลายปีจนถึงปีนี้ และกำลังจะเจอคลื่นที่สาม ซึ่งก็ล้วนบ่งถึงการระบาดที่กลับมา และต้องรีบหาสาเหตุ และจัดการแก้ไข…ชีวิตคนเราก็แค่นั้น ถ้ามองความจริง ใช้ความรู้ที่ถูกต้อง ก็จะหาทางแก้ไขได้ สำคัญคือต้องโปร่งใส จริงใจ ไร้ผลประโยชน์ซ่อนเร้น


ห้า “เพิ่มศักยภาพของระบบการตรวจคัดกรองโรค” ให้ครอบคลุมทุกที่ ราคาถูก และมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่การเข้าถึงบริการ การรายงานผลตรวจ และการนำเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาและการติดตามเครือข่ายที่สัมผัส
และสำคัญที่สุดคือ จัดหาวัคซีนที่มีสรรพคุณสูง เข้ามาเสริมเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนในประเทศ
ด้วยรักและปรารถนาดี

ขอบคุณ ที่มา : Thira Woratanarat

สั่งจองนิตยสาร Howe โดยไม่ต้องรอหาตามแผงสั่งได้ที่

Line : Howemagazine
  Fanpage : Howemagazine
รายละเอียดการสั่ง (คลิ๊ก)

  อ่านนิตยสาร Howe Magazine ออนไลน์ได้ที่

Ookbee-Logo
LOGO-MEB-2017
Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.