เคยได้ยินไหม ภาวะเครียดออกซิเดชันคืออะไร ส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย?

0
1607

หลายคนคงคุ้นเคยกับคำว่าอนุมูลอิสระเป็นสิ่งไม่ดีต่อร่างกาย แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆแล้วอนุมูลอิสระส่งผลอย่างไรต่อร่างกาย?

คำตอบคือ เมื่อร่างกายมีอนุมูลอิสระมากเกินไป จนเข้าสู่ภาวะไม่สมดุลกับสารต้านอนุมูลอิสระจะทำให้เกิด “ภาวะเครียดออกซิเดชัน (Oxidative stress)” ได้ ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเซลล์ทั่วร่างกาย และเชื่อว่าภาวะเครียดออกซิเดชันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแก่ชราและการเกิดโรคที่สัมพันธ์กับอายุด้วย โดยโรคดังกล่าวสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกายเลยทีเดียว เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ ไตวายเรื้อรัง โรครูมาตอยด์ โรคเบาหวาน เป็นต้น

ดอน พูซาเทอริ นักวิทยาศาสตร์อาวุโส กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาพืชพรรณนิวทริไลท์ จากสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ ได้ศึกษาถึงคุณสมบัติของไฟโตนิวเทรียนท์ในพืชพรรณชนิดต่างๆ และค้นพบว่า ไฟโตนิวเทรียนท์สามารถต้านอนุมูลอิสระได้ 2 แบบ คือ การต้านอนุมูลอิสระเชิงรับ (Reactive Defense) โดยพืชให้ไฟโตนิวเทรียนท์ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่สามารถกำจัดและลดความรุนแรงของอนุมูลอิสระในร่างกายได้โดยตรง และการต้านอนุมูลอิสระเชิงรุก (Proactive Defense) โดยไฟโตนิวเทรียนท์บางชนิดกระตุ้นระบบป้องกันด้วยสารต้านอนุมูลอิสระของร่างกาย

ทุกวันนี้สุขภาพของคนไทยกำลังน่าเป็นห่วง พบว่า 3 ใน 4 ของคนไทย หรือประมาณ 74% ของประชากรไทยทั้งหมด รับประทานผักและผลไม้ไม่เพียงพอตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งแนะนำให้รับประทานผักและผลไม้อย่างน้อย 400 กรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากับประมาณ 5 กำมือ*

แต่ถึงแม้ว่าจะรับประทานผักผลไม้ทุกวัน รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วสัดส่วนที่ถูกต้องคือต้องรับประทานผักผลไม้ให้ได้ปริมาณครึ่งหนึ่งของอาหารในแต่ละมื้อและมีครบทั้ง 5 สี เพื่อให้ได้รับไฟโตนิวเทรียนท์อย่างครบถ้วน ดังนี้

1.สีขาว เช่น หัวหอม กระเทียม มีสารเควอซิทิน ช่วยเสริมสุขภาพกระดูก เสริมสุขภาพการไหลเวียนโลหิต สนับสนุนการทำงานของหลอดเลือดแดง
2.สีส้ม เช่น ส้ม แครอท ฟักทอง มีสารเบต้า-แคโรทีน เฮสเพอริดิน ช่วยปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ เสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน เสริมสุขภาพดวงตา รักษาความชุ่มชื้นของผิว ส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างสมบูรณ์แข็งแรง
3.สีแดง เช่น มะเขือเทศ เชอร์รี มีสารไลโคปีน ปกป้องเซลล์จากอนุมูลอิสระ ช่วยสุขภาพต่อมลูกหมาก สุขภาพดีเอ็นเอ เสริมสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด
4.สีม่วง เช่น องุ่น บลูเบอร์รี มีสารแอนโธไซยานิน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยระบบความจำ เสริมสุขภาพหัวใจ สนับสนุนการทำงานของหลอดเลือดแดง
5.สีเขียว เช่น คะน้า ผักโขม มีสารไอโซฟลาโวน ช่วยต้านอนุมูลอิสระ เสริมสุขภาพเซลล์ สนับสนุนการทำงานของหลอดเลือดแดง สุขภาพปอด และส่งเสริมการทำงานของตับ

นอกจากนี้ ดอน พูซาเทอริ ยังได้ทำการทดสอบกว่า 20,000 ครั้ง ในพืชพรรณกว่า 1,000 ชนิด และค้นพบ ไฟโตเบลนด์ (Phyto Blend) ที่ประกอบด้วย โรสแมรี (Rosemary) ขมิ้นชัน (Turmeric) และโซโฟรา จาโปนิกา (Sophora Japonica) เมื่อพืชทั้ง 3 ชนิดมารวมกันในอัตราส่วนและความเข้มข้นที่เหมาะสมจะทำให้ได้สารต้านอนุมูลอิสระทรงพลัง!

ลองสังเกตมื้ออาหารที่ผ่านมาของคุณดูสิว่ามีปริมาณผักผลไม้ครบ 5 กำมือและครบทั้ง 5 สีแล้วหรือยัง แต่ถ้ายังไม่ครบในมื้อนี้ก็ไม่เป็นไร ยังไม่สายที่จะเริ่มรับประทานอย่างถูกหลักเพื่อลดความเสี่ยงภาวะเครียดออกซิเดชันในมื้อถัดไป เริ่มต้นช้ายังดีกว่าไม่เริ่มต้นทำ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเองที่มา

ที่มา: Health Systems Research Institute (HSRI); 2014

สั่งจองนิตยสาร Howe โดยไม่ต้องรอหาตามแผงสั่งได้ที่
Line : Howemagazine
  Fanpage : Howemagazine
รายละเอียดการสั่ง (คลิ๊ก)

  อ่านนิตยสาร Howe Magazine ออนไลน์ได้ที่

Ookbee-Logo
LOGO-MEB-2017
Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.