“พาใจกลับบ้าน” Homecoming นิทรรศการและพื้นที่ชาร์จแบตใจกลับมาฮีลใจครั้งใหญ่ บนพื้นที่ปลอดภัยของ MMAD – MunMun Art Destination

0
392

“ไม่ต้องเก่งตลอดก็ได้ ให้เวลากับตัวเองบ้างก็ได้ อ่อนแอบ้าง มีความสุขบ้าง” ในยุคที่ทุกคนดำดิ่งไปกับความยุ่ง รู้สึกผิดไปกับความว่าง แบกรับกับความคาดหวังจากทั้งการงาน การเงิน ความฝัน และครอบครัว วิ่งแบบไม่ได้หยุด ดึงทุกศักยภาพและใช้ทุกพลังที่มีโดยแทบไม่ได้ดูแลตัวเอง ไม่อนุญาตให้ตัวเองมีความสุขอย่างแท้จริง จนหลายคนเดินทางสู่ “Burnout หรือ ยุคแห่งความหมดไฟ” สะสมความเครียดอย่างไม่รู้ตัว เผชิญหน้าสู่ความเสี่ยงกับภาวะซึมเศร้า

การกลับมาอย่างเต็มรูปแบบและอบอุ่นกว่าที่เคยของ “พาใจกลับบ้าน” Homecoming นิทรรศการและพื้นที่ชาร์จแบตใจเชิงประสบการณ์ (Therapeutic Space) ที่ผสานศิลปะและการดูแลสุขภาพจิตเข้าด้วยกัน โดย อายดรอปเปอร์ ฟิลล์  (Eyedropper Fill) นักออกแบบพื้นที่ประสบการณ์ ที่ทำให้คนเห็นใจตัวเองและเห็นใจกัน ครั้งนี้จะมอบพื้นที่ปลอดภัยและชวนทุกคนมาร่วมสัมผัสประสบการณ์ที่ช่วยให้ทุกคนได้ใช้เวลากับตัวเองอย่างมีคุณค่า พูดคุยกับตัวเอง รับฟังตัวเอง เข้าใจตัวเอง และดูแลใจตัวเอง ผ่านงานศิลปะเชิงประสบการณ์ที่ออกแบบร่วมกับนักจิตวิทยา และผสานองค์ความรู้ด้านจิตวิทยามาใช้ในการออกแบบและสร้างสรรค์พื้นที่เชิงบำบัด (Therapeutic Space) ประกอบกับความรู้ด้าน Digital Art ผ่านแสง สี เสียง และสัมผัส เน้นการทำงานกับฐานกาย ซึ่งเป็นฐานสำคัญในการทำงานกับอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจ พร้อมร้อยเรียงเรื่องราวของเนื้อหา ภายใต้แนวคิดและตัวแปรทางจิตวิทยา “ความเมตตากรุณาต่อตัวเอง” (Self-compassion) เพื่อส่งเสริมสุขภาวะ และเอื้อให้เกิดการตระหนักรู้ด้านสุขภาพใจ บนพื้นที่ของ MMAD – MunMun Art Destination (แมด – มันมัน อาร์ต เดสทิเนชัน) และพื้นที่งานศิลปะสร้างสรรค์ฝั่งกรุงเทพฯ ตะวันออก บริเวณชั้น 2, มันมัน ศรีนครินทร์ – ห้างสรรพศิลป์คราฟท์   (ซีคอนสแควร์ ศรีนครินทร์) เปิดให้เข้าชมวันแรก 12 กรกฎาคม 2567 และเปิดให้เข้าชมทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00-20.00 น. (ไม่มีแบ่งรอบและไม่จำกัดเวลาในการเข้า โดยเปิดให้เข้าชมรอบสุดท้ายไม่เกิน 19.30 น.) ราคาบัตร 200 บาท ช่องทางการซื้อบัตร https://www.eventpop.me/e/27319/homecoming พร้อม “พาใจกลับบ้าน” ผ่าน 5 ห้องหลัก ดังนี้

  1. ห้อง “สำรวจ” ห้องที่ให้ทุกคนได้มานั่งทบทวนความรู้สึกของตัวเอง “รู้สึกอย่างไรอยู่” เป็นห้องที่ให้ทุกคนได้มานั่งทบทวนความรู้สึกของตัวเอง ลองระบุอารมณ์เหล่านั้นให้ชัดเจน และค่อย ๆ ฝนดำลงในช่องอารมณ์ต่าง ๆ จากนั้นค่อย ๆ จดจ่อไปที่เส้นแสงที่กำลังพาดผ่านร่างกาย ตามหาว่ามวลอารมณ์เหล่านั้นกำลัง   เกิดขึ้นอยู่บนส่วนไหนของร่างกาย หลังเสร็จกิจกรรม ‘สำรวจอารมณ์’ ผู้เข้าร่วมจะส่งกระดาษวงล้อแห่งอารมณ์กับสตาฟในห้องเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลเชิงสถิติในงาน
  • ห้อง ”โอบรับ” ห้องที่เปิดโอกาสให้ทุกคนก้าวอย่างช้า ๆ เอื้อมมือเข้าไปหาความรู้สึกในใจ “เว้าแหว่ง ก็สวยงาม เชื่อในความไม่สมบูรณ์แบบอย่างที่เป็น คอยประคองหัวใจตัวเองไว้ หยุดนิ่ง ให้ความมั่นคงปลอบประโลม” ห้องที่เปิดโอกาสให้ทุกคนก้าวอย่างช้า ๆ เอื้อมมือเข้าไปหาความรู้สึกในใจ สัมผัสถึงทุกความรู้สึกที่เกิดขึ้นตรงหน้า  ความเจ็บปวด ความไม่สมบูรณ์ ทุกความรู้สึกล้วนเป็นธรรมชาติ ค่อย ๆ สวมกอดตัวเองผ่านการโอบ ‘กอด’ รูปทรงที่ตรงใจและพอดีกับความรู้สึก หลังเสร็จกิจกรรมผู้เข้าชมสามารถร่วมเขียนเพื่อสะท้อนความรู้สึกได้ที่กำแพง

ห้อง “เฝ้าดู” ห้องที่ให้ผู้เข้าร่วมชมงาน เอนกายลง ‘นอน’ ช้า ๆ ซึมซับกับบรรยากาศ แล้วหลับตาลง ทบทวน เฝ้าดู รับรู้ ความคิดที่ไหลผ่านตัวเรา “นั่งมองกระแสน้ำ ฟังเสียงกระแสใจ หันหน้าเข้าหาโลกภายใน เฝ้ามองทุกความรู้สึกที่กำลังเกิดขึ้น ห้องที่ให้ผู้เข้าร่วม  ชมงาน เอนกายลง ‘นอน’ ช้า ๆ ซึมซับกับบรรยากาศ แล้วหลับตาลง ทบทวน เฝ้าดู รับรู้ ความคิดที่ไหลผ่านตัวเรา ในแบบที่ไม่ต้องแก้ไข ไม่ต้องจับจด เพียงมองหาต้นทางของความคิดเหล่านั้น หลังเสร็จกิจกรรมสามารถร่วมเขียนเพื่อสะท้อนความรู้สึกได้ที่กำแพงด้านข้าง

  • ห้อง “ข้ามผ่าน” ห้องที่มีเสียงสะท้อนแผ่วเบาดังอยู่รอบตัว ให้คุณลองเอนตัวลงบนหมอน พื้นที่ที่เปิดกว้างให้ผู้ร่วมงานรับ ‘ฟัง’ เรื่องราวของคนอื่น ในขณะที่ตั้งใจฟังเสียงในใจของตัวเองไปพร้อมกัน “เศษเสี้ยวของบทสนทนา หลายถ้อยคำ หลากเรื่องราวที่เป็นกระจกสะท้อนถึงตัวเรา กระจกที่อยากให้คุณสำรวจตัวเองว่าการที่เรามีเมตตาต่อตัวเองช่วยให้คุณผ่านช่วงเวลาโหดร้ายเหล่านั้นได้อย่างไร” เสียงสะท้อนแผ่วเบาดังอยู่รอบตัว ให้คุณลองเอนตัวลงบนหมอน พื้นที่ที่เปิดกว้างให้ผู้ร่วมงานรับ ‘ฟัง’ เรื่องราวของคนอื่น ในขณะที่ตั้งใจฟังเสียงในใจของตัวเองไปพร้อมกัน คุณปลอบโยนคนอื่นแบบไหน คุณเคยปลอบตัวเองแบบนั้นบ้างไหม หลังเสร็จกิจกรรมสามารถร่วมเขียนเพื่อสะท้อนความรู้สึกได้ที่กำแพง

ห้อง “ตกผลึก” ห้องที่ให้ผู้เข้าชมเขียน 1 คำลงบนหิน ที่เปิดเผยให้เห็นถึงเสียงภายในอันหนักแน่นและเป็นจริง”เปลือกอันหนาแน่นที่ห่อหุ้ม ถูกกะเทาะให้เหลือเพียงแก่นภายใน อะไรคือคุณค่าและตัวตนอันแท้จริงที่อยู่ภายใต้เปลือกนั้น” ห้องที่ให้ผู้เข้าชมเขียน 1 คำลงบนหินที่เปิดเผยให้เห็นถึงเสียงภายในอันหนักแน่นและเป็นจริง ไม่ว่าเสียงจากกระแสภายนอกกำลังบอกว่าอะไร และก่อนที่จะจากบ้านหลังนี้ เราอยากชวนให้ทุกคนค่อย ๆ ตอบคำถามในห้อง เพื่อให้ตัวเองกลับมาเป็นบ้านของใจได้อีกครั้ง

ความพิเศษของ “พาใจกลับบ้าน” Homecoming ในครั้งนี้ นอกจากกิจกรรมที่ทำงานร่วมกับประสาทสัมผัสทั้ง 5 ที่จะทำให้ทุกคนรู้สึกผ่อนคลาย และสำรวจความรู้สึกไปพร้อมกัน ครั้งนี้ยังได้คอลแลปส์งานกับศิลปินอินดี้ไทย “Youth Brush” พร้อมมอบ 3 เพลงฮีลใจ คือ ขอโทษในตัวเอง, ให้อภัยและรักตัวเองสักที และขอบคุณที่ทนรอฟ้าสว่าง ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิด “ความเมตตาต่อตัวเอง” จนออกมาเป็นเพลงที่ชวนให้ทุกคนมา ‘ขอบคุณ’ ‘ขอโทษ’ ‘ให้อภัย’ ซึ่งทุกคนจะได้รับฟังภายในนิทรรศการครั้งใหม่นี้ หรือรับฟังได้ผ่านสตรีมมิงมิวสิกต่างๆ อาทิ Spotify

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก พาใจกลับบ้าน Homecoming และ อินสตาแกรม homecoming.th หรืออัปเดตแวดวงศิลปะได้ที่ MMAD – MunMun Art Destination และ MunMun

#พาใจกลับบ้าน #Homecoming #Eyedropperfill

#MMAD #MunMunArtDestination #MunMunSrinakarin #ห้างสรรพศิลป์คราฟท์ #SeaconSquare

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.