“หมอประสิทธิ์”เผยความจริงโควิดพันธุ์อังกฤษ ทำคนอายุน้อยเสียชีวิต ภายใน 7-10 วัน

0
786

วันที่ 27 เมษายน 2564 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้สรุป 3 ประเด็นสำคัญ เกี่ยวกับสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ ผ่านทางช่องยูทูป Siriraj Pr ประกอบด้วย

1.สถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ระลอกใหม่จากทั่วโลก

2.ข้อพึงระวังของประเทศไทย และคำแนะนำในการดูแลตนเอง

3.บทบาทและความร่วมมือของคนไทยในการจัดการสภาวะวิกฤต

ซึ่งในบางช่วงบางตอนของคลิปได้พูดถึงสถานภาพของวัคซีนโควิด-19 จำนวน 8 ตัว ที่ทั่วโลกมีการใช้ ประกอบด้วย 1. แอสตราเซเนกา เป็นวัคซีนที่ทั่วโลกใช้มากที่สุด จำนวน 91 ประเทศ 2. ไฟเซอร์ 83 ประเทศ, 3.สปุตนิกวี 62 ประเทศ, 4.โมเดอร์นา 46 ประเทศ, 5. จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน 40 ประเทศ, 6.ซิโนฟาร์ม 35 ประเทศ, 7.ซิโนแวค 22 ประเทศ และ 8. บารัตไบโอเทค 6 ประเทศ ซึ่งวัคซีนโควิด-19 แต่ละยี่ห้อ มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน แต่ไม่ว่าวัคซีนตัวไหนก็ขอให้ฉีดให้ได้มากที่สุด เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของไวรัส โดยต้องฉีดให้ได้อย่างน้อย 25% ซึ่งหลายๆ ประเทศทยอยฉีด โดยทั่วโลกฉีดแล้วกว่า 1,009 ล้านโด๊ส ที่ต้องชื่นชมคืออิสราเอล มีประชากร 8.8 ล้านคน แต่ฉีดวัคซีนแล้ว 10 ล้านโด๊ส แบ่งเป็นฉีดเข็มแรก 59.4% และฉีดครบ 2 เข็มแล้ว 55.3% ทำให้เกิดผลดี แต่การที่รัฐประกาศไม่ต้องใส่หน้ากากแล้วนั้นเป็นเรื่องที่องค์การอนามัยโลกก็ออกมาเตือน เป็นเรื่องที่น่ากลัว อาจจะมีผลกระทบกับการระบาดใหม่

ขณะที่ข้อพึงระวังในประเทศไทย พบว่าขณะนี้มีการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 เกิดสายพันธุ์ใหม่ ที่สำคัญคือ 

-B.1.1.7 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิมพบว่ามีการแพร่กระจายเร็วขึ้นกว่าเดิม แต่ความรุนแรงไม่เพิ่มขึ้น พบว่าไม่มีความรุนแรง แต่รายงานล่าสุดจากสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่าอาจจะทำให้เกิดการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสายพันธุ์นี้ มีการระบาดในประเทศไทยแล้ว ซึ่งในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมาก็มีจำนวนเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างเยอะ

-B .1.351 สายพันธุ์แอฟริกาใต้ เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิม พบว่าแพร่กระจายเร็วขึ้น แต่ข้อมูลล่าสุดพบว่าไม่เพิ่มความรุนแรง
-P.1 สายพันธุ์บราซิล พบครั้งแรก 01-2021 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดิม พบว่าแพร่กระจายเร็วขึ้น และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำ
-B.1427 และ B.1429 พบที่ สหรัฐอเมริกา เมื่อ 02/2021 อาจจะสัมพันธ์กับการแพร่ระบาดมากขึ้น
-B.1.617 สายพันธุ์อินเดีย  พบในอินเดียเมื่อ 10/2020 มีรายละเอียดน้อย

สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทย พบว่าสัดส่วนผู้ป่วยที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น อย่างศิริราชเองผู้ป่วยที่เข้ามารักษาพบว่า 1 ใน 4 มีอาการปวดอักเสบ จำนวนผู้ป่วยที่ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ซึ่งไม่ใช่แค่ศิริราชทั่วประเทศก็มีลักษณะเดียวกัน สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น ปีที่แล้วไม่เคยเจอผู้เสียชีวิต 2 หลักเลย คาดการได้เลยว่าเมื่อผู้ป่วยหนักมากขึ้นแนวโน้มจะมีผู้เสียชีวิต 2 หลักเพิ่มขึ้น ซึ่งการเสียชีวิตเชื่อมโยงได้จาก 2 ปัจจัยคือ ไวรัสกลายพันธุ์และจำนวนกับผู้ป่วยที่เพิ่มขึ้น และคนไข้ที่อาการรุนแรงจนเสียชีวิตรอบนี้มีอายุน้อยลงและเสียชีวิตภายใน 7-10 วันเท่านั้น

ขอบคุณ ที่มา : sirirajpr

สั่งจองนิตยสาร Howe โดยไม่ต้องรอหาตามแผงสั่งได้ที่

Line : Howemagazine
  Fanpage : Howemagazine
รายละเอียดการสั่ง (คลิ๊ก)

  อ่านนิตยสาร Howe Magazine ออนไลน์ได้ที่

Ookbee-Logo
LOGO-MEB-2017
Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.