เพจ กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร เผยผลการตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง พบว่าเกินค่ามาตรฐานจำนวน 56 พื้นที่ ประกอบด้วย เขตบางพลัด เขตคลองสาน เขตบางกอกน้อย เขตพระนคร เขตดุสิต เขตประเวศ เขตบางขุนเทียน เขตบึงกุ่ม เขตจอมทอง เขตบางบอน เขตบางนา เขตทวีวัฒนา เขตสัมพันธวงศ์ เขตวังทองหลาง เขตปทุมวัน เขตพญาไท เขตหนองแขม เขตคลองเตย เขตจตุจักร เขตบางซื่อ เขตทุ่งครุ เขตบางเขน เขตบางกะปิ เขตภาษีเจริญ เขตสาทร เขตยานนาวา เขตตลิ่งชัน สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตหลักสี่ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สวนสันติภาพ เขตราชเทวี สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ เขตคันนายาว เขตสายไหม เขตสวนหลวง เขตบางแค เขตดินแดง เขตลาดพร้าว เขตบางรัก เขตมีนบุรี เขตพระโขนง เขตคลองสามวา สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด เขตห้วยขวาง เขตราษฎร์บูรณะ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา เขตบางคอแหลม เขตลาดกระบัง เขตหนองจอก เขตวัฒนา เขตสะพานสูง สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค เขตดอนเมือง สวนรมณีย์ทุ่งสีกัน เขตดอนเมือง สวนจตุจักร เขตจตุจักร และสวนเสรีไทย เขตบึงกุ่ม
โดยตรวจวัดได้ในช่วง 40-81 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) (ค่ามาตรฐานเฉลี่ย 24 ชั่วโมงอยู่ที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร) คิดเป็นร้อยละ 80 จากจำนวนเขตที่มีสถานีตรวจวัดทั้งหมด คุณภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ ค่า PM2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
พร้อมกันนี้ยังให้คำแนะนำ โดยประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ-มีผลกระทบต่อสุขภาพ ให้เฝ้าระวังสุขภาพ หากมีอาการเบื้องต้น เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา ควรลดระยะเวลาการทำกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะ ผู้สูงอายุ เด็กและผู้ป่วยทางเดินหายใจ และใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองหากเกิดความจำเป็น
ทั้งนี้ แอปพลิเคชัน AirVisual.com ซึ่งเป็นแอปฯ รายงานการจัดอันดับค่าฝุ่นแบบเรียลไทม์รอบโลก ได้รายงานผลการจัดอันดับค่าฝุ่นรอบโลก เมื่อเวลาประมาณ 08.00 น. พบว่าพื้นที่กรุงเทพฯของไทยมีปริมาณฝุ่นแบบภาพรวมที่ 170 US AQI ส่งผลให้ประเทศไทยเป็นพื้นที่ที่มีค่าฝุ่นสูงติดอันดับที่ 7 ของโลก
เครดิต : กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร