PHYTONUTRIENT

0
3239

PHYTONUTRIENT

 

 

สังคมเมืองในปัจจุบันเป็นสังคมที่มีแต่ความเร่งรีบ ผู้คนส่วนใหญ่ใช้เวลาหมดไปกับการเดินทางบนท้องถนน ที่การจราจรสุดแสนจะคับคั่ง และการทำงานอีกหลายชั่วโมงในแต่ละวัน จนลืมใส่ใจเรื่องของสุขภาพและอาหารการกิน ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง รับประทานอาหารก็ต้องรีบเร่ง เนื่องจากมีเวลาจำกัด จนต้องพึ่งพาอาหารจานด่วนตามฟาสต์ฟู้ด หรืออาหารแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อ และมีอีกหลายคนที่ไม่ชอบรับประทานผักและผลไม้ ส่งผลให้มีปัญหาสุขภาพ เพราะร่างกายได้รับสารอาหารไม่พอเพียง เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ตามมา

องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ว่า เราควรบริโภคผักและผลไม้ให้ได้วันละ 400-500 กรัม/วัน ซึ่งสวนทางกับพฤติกรรมการบริโภคผักและผลไม้ของคนไทยในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีผลการวิจัยออกมาว่า ชายไทยรับประทานผักและผลไม้เพียง 268 กรัม/วัน และหญิงไทยรับประทานผักและผลไม้เพียง 276 กรัม/วัน เท่านั้น ไม่เพียงแค่การรับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย แต่เราควรเลือกรับประทานให้หลากหลายชนิด อย่างเช่น การเลือกรับประทานผักและผลไม้ให้ครบ 5 สี เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เรียกว่า “ไฟโตนิวเทรียนท์” หรือ “สารพฤกษาเคมี” ที่มีสารอาหารแตกต่างกันออกไปตามสีสันของผักและผลไม้ชนิดนั้นๆ ซึ่งนอกจากจะได้ความอร่อยแล้วก็ยังเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาพให้ดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ

 

สารอาหารและประโยชน์

 

1. ผักและผลไม้สีเขียว ให้สารอาหาร “คลอโรฟิลด์”

ผัก : ผักใบเขียว เช่น คะน้า ตำลึง กวางตุ้ง บรอกโคลี ปวยเล้ง ผักโขม กะหล่ำปลี แตงกวา ถั่วลันเตา หน่อไม้ฝรั่ง

ผลไม้ : แอปเปิ้ลเขียว ฝรั่ง กีวี่  องุ่นเขียว

ประโยชน์ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ชะลอการเสื่อมของจอประสาทตา ช่วยต้านอนุมูลอิสระ และกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกาย

 

2. ผักและผลไม้สีแดง ให้สารอาหาร “ไลโคปีน” และ “เบต้าไซซีน”

ผัก : มะเขือเทศ พริกแดง พริกหยวก บีทรูท

ผลไม้ : กระเจี๊ยบแดง แตงโม สตรอเบอร์รี่ เชอร์รี่ ทับทิม

ประโยชน์ ช่วยลดริ้วรอยจากการเกิดสิว ลดความดันโลหิต ลดการแข็งตัวของหลอดเลือด ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ลดไขมันไม่ดีในเลือด ชนิด LDL

 

3. ผักและผลไม้สีเหลือง,สีส้ม : ให้สารอาหาร “ลูทีน” และ “เบต้าแคโรทีน”

ผัก : แครอท ฟักทอง ข้าวโพด ข้าวโพดอ่อน มั่นฝรั่ง

ผลไม้ : กล้วย ส้ม มะละกอ สับปะรด เสาวรส ขนุน พีช ลูกพลับ

ประโยชน์ ป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือด เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ช่วยพัฒนาการด้านการมองเห็นในเด็กเล็ก ช่วยให้ผิวพรรณสดใส

 

4. ผักและผลไม้สีม่วง,สีน้ำเงิน : ให้สารอาหาร “แอนโทไซยานิน”

ผัก : กะหล่ำปลีสีม่วง มะเขือสีม่วง มันสีม่วง เผือก ดอกอัญชัญ หอมแดง

ผลไม้ : บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ องุ่น ลูกไหน ลูกพรุน

ประโยชน์ ต้านอนุมูลอิสระ กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ยับยั้งเชื้ออีโคไลในทางเดินอาหาร ที่ทำให้เกิดโรคท้องร่วง ช่วยต้านไวรัสและลดการอักเสบ

 

5. ผักและผลไม้สีขาว,สีน้ำตาล : ให้สารอาหาร “แซนโทน”

ผัก : ถั่วงอก กระเทียม งาขาว หัวไชเท้า เห็ด หอมใหญ่ ดอกแค กะหล่ำดอก ธัญพืชต่างๆ

ผลไม้ : ลิ้นจี่ ละมุด ลองกอง ลางสาด มันแกว สาลี่ พุทรา มังคุด น้อยหน่า

ประโยชน์ ช่วยต้านการอักเสบ ลดการปวดอักเสบตามข้อ  รักษาระดับน้ำตาลในเลือด ลดไขมันในเลือด

 

สำรวจตัวเองกันด้วยนะคะว่ารับประทานผักและผลไม้อย่างเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้วหรือยัง ? ซึ่ง “สลัดผักผลไม้สด” ก็เป็นอีกหนึ่งเมนูเพื่อสุขภาพยอดฮิตของสาวๆ ที่ให้ทั้งสารอาหาร เกลือแร่ วิตามิน ไฟเบอร์ แร่ธาตุต่างๆ ซึ่งเราสามารถซื้อผักสด ผลไม้สด จากซูเปอร์มาเก็ต มาทำเองได้ง่ายๆ และเลือกน้ำสลัดที่มีไขมันต่ำ แต่ต้องไม่ลืมที่จะล้างผักและผลไม้ให้สะอาดทุกครั้งก่อนรับประทาน เพื่อลดปัญหาการตกค้างของสารเคมีหรือยาฆ่าแมลง ที่อาจเข้าไปสะสมอยู่ในร่างกายจนอาจก่อให้เกิดโรคต่างๆ โดยล้างผักและผลไม้ผ่านน้ำสะอาดอย่างน้อย 2 นาที หรือแช่ผักและผลไม้ในน้ำเกลือ ทิ้งไว้สักครู่ แล้วล้างน้ำเปล่าอีกครั้ง หรืออาจจะเลือกซื้อผักปลอดสารพิษ จากแหล่งที่ไว้วางใจได้ เพื่อความมั่นใจในการบริโภค

 

 

ข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจาก : โรงพยาบาลบางไผ่ , www.krungsri.com

สั่งจองนิตยสาร Howe โดยไม่ต้องรอหาตามแผงสั่งได้ที่
Line : Howemagazine
Fanpage : Howemagazine
รายละเอียดการสั่ง (คลิ๊ก)

 อ่านนิตยสาร Howe Magazine ออนไลน์ได้ที่

Ookbee-Logo

LOGO-MEB-2017

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.