ปลุกชีวิต…คืนชีวา ตลาดพลู-วงเวียนใหญ่ สานต่อ “คุณค่า” วัฒนธรรมชุมชน ผ่านมุมมองใหม่สู่ใจ “คนเจนฯ ใหม่”         

0
428

ตลาดพลู อีกหนึ่งย่านเก่าแก่ ที่ได้รับผลกระทบจากการขยายเมือง โครงสร้างทางสังคมและชุมชนเปลี่ยนแปลงไป คนหน้าใหม่เข้ามาอาศัยอยู่ร่วมกันกับคนเก่าในชุมชน เมื่อคนต่าง “วิถี” เข้ามาอยู่ร่วมกัน “ความเห็นต่าง” ก็เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ คุณค่าดังเดิมของชุมชน เริ่มจางหายไป  การสร้างความเชื่อมโยงให้คุณค่าของย่านเมืองเก่าถูกถ่ายทอดออกไปยังคนรุ่นใหม่ในรูปแบบที่สอดรับกับวิถีชีวิตคนเมือง กลายเป็นโจทย์หลักในการทำนิทรรศการของทีมงานคณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ซึ่งเป็นเอกชนรายเดียวที่ได้เข้าร่วมทำงานกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ สศส.ในการจัดทำนิทรรศการ Bangkok Design week ซี่งเป็นเทศกาลงานออกแบบที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มียอดผู้เข้าชมงานทั้งไทยและต่างประเทศมากกว่า 400,000 คนในแต่ละปี

 อาจารย์มาร์ค ผศ.ดร. ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ผู้อยู่เบื้องหลังแนวคิดการออกแบบนิทรรศการตลาดพลู-วงเวียนใหญ่ ในงาน Bangkok Design week 2023 เล่าว่า คณะการออกแบบและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เป็นมหาวิทยาลัยเอกชนรายเดียวที่ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมในงาน Bangkok Design week 2023 ในปีนี้ ซึ่งปัจจุบันย่านตลาดพลู-วงเวียนใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน เมื่อรถไฟฟ้าสร้างเสร็จ ความเจริญเข้ามาเยือน โครงการที่อยู่อาศัยเกิดใหม่ เช่น คอนโดมีเนียม บ้านจัดสรร เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีผู้อยู่อาศัยใหม่ ๆ เข้ามาในพื้นที่ เกิดการผสมผสานของคนกลุ่มใหม่นอกพื้นที่กับผู้อยู่อาศัยดังเดิมในชุมชน  มีความไม่เข้าใจเรื่องวิถีชีวิตและวัฒนธรรมดังเดิมของคนเก่าที่อยู่เดิมในชุมชนตลาดพูลมายาวนาน เกิดเป็นโจทย์ให้ขบคิดหาวิธีเพื่อให้สองวิถีชีวิต คนใหม่ กับคนเก่าสามารถอยู่ร่วมกันได้ในพื้นที่เดียวกันอย่างมีความสุข พร้อมกับการบอกเชิญชวนให้คนรุนใหม่ ชาวต่างชาติ เข้ามาสัมผัสมรดก วัฒนธรรมของชุมชนเก่าแก่ย่านตลาดพลู-วงเวียนใหญ่ อีกหนึ่งเสน่ห์ของเมืองไทยผ่านมุมมองใหม่

การจัดนิทรรศการ Bangkok Design week 2023 ในคอนเซ็ปต์ ‘เมืองมิตรดี’ เราได้ตีโจทย์ นำต้นทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นคุณค่าในการต่อยอดสร้างมูลค่าให้กับชุมชน โดยลงพื้นที่เก็บข้อมูลเริ่มระดมสมองคุยกันในคณะฯ ทั้งคนรุ่นเก่าคืออาจารย์ และคนรุ่นใหม่คือนักศึกษาในคณะฯ มีการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ที่สามารถช่วยให้การสื่อสารออกไปสร้างความเข้าใจให้คนเก่าและคนใหม่ในพื้นที่ คงไว้ซึ่ง ‘ต้นทุนทางวัฒนธรรม’ ของชุมชนตลาดพลู ซึ่งนับเป็น คุณค่า ที่ต้องต่อยอดออกไปให้ทันสมัยผ่านนิทรรศการที่จัดออกมา 2 ส่วน คือ ในพื้นที่ตลาดพลู-วงเวียนใหญ่ เพื่อสร้างความเข้าใจคุณค่าของวิถีชีวิตของคนในพื้นที่ซึ่งอยู่อาศัยมานาน แกนความคิดเชิงออกแบบทำเพื่อสร้างนวัตกรรม

หัวใจสำคัญของ Design Thinking คือ การนำความคิดสร้างสรรค์มาผ่านกระบวนการออกแบบ ด้วยการนำเอา“คุณค่า”มรดกวัฒนาธรรมชุมชน  มาต่อยอดเป็นนวัตกรรม ทั้งที่ไม่ใช้เทคโนโลยี และใช้เทคโนโลยีเขามาเป็นตัวสนับสนุน ผ่านการนำเสนอรูปแบบใหม่  เช่น นักศึกษามีประสบการณ์สร้างมูลค่า ว่าวปักเป้า  หัวสิงโต โมเดลไม้ ของดีชุมชนตลาดพูล ด้วยการถอดประสบการณ์ความชำนาญ ความปราณี  เช่น ออกแบบเป็นเสื้อ โมเดลจำลอง  หรือจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปให้คนได้มีส่วนร่วมและตระหนักถึงมูลค่าทางภูมิปัญญา จากเดิม ว่าว ขายสปอร์ตเซอร์ หัวสิงโต รับจ้างเชิดตามงาน โมเดลไม้ประกอบแล้วเข็นขายตามงานต่าง ๆ ซึ่งการส่งต่อภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อถ่ายทอดสิ่งดีๆ ให้กับเยาวชนรุ่นต่อไป

ผศ.ดร. ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์
Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.