“ปริมมี่ – วิพาวีร์” ฝึกสกิลการแสดงเพิ่มพร้อมชวนดูการแสดงมิติใหม่ กับ Live Performance โปรเจคA Draft of Dead Birds ในวันที่ 12 – 14 ก.ค. นี้ ที่ บางกอกซิตี้แกลเลอรี่

0
217

เป็นสาวสวยสายแฟชั่น และ งานศิลปะ ที่ฝากผลงานการแสดงซี่รี่ย์ Analog squad และผลงานการกำกับหนังสั้นมือรางวัล ดาหลาสีม่วง ไว้ให้แฟนได้ติดตามแล้ว ล่าสุด ปริมมี่ – วิพาวีร์ พัทธ์ณศิริ ขอร่วมแสดงt Live Performance  ใน โปรเจค  ‘A Draft of Dead Birds’  การแสดงสดโดย พวงสร้อย อักษรสว่าง  ซึ่งงานนี้ สาวปริมมี่ ต่างทุ่มเทให้กับการฝึกซ้อม เพิ่มสกิลการแสดงที่ผสมผสานศาสตร์ศิลปะการแสดงโชว์ อย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ชมสนุกสนานไปกับการแสดง เรียกว่าเป็นสาวเก่งที่ไม่หยุดพัฒนาความสามารถในงานแสดง และ งานศิลป์ ใครสนใจร่วมพิสูจน์ฝีมีการแสดง Live Performance  ของ ปริมมี่  – วิพาวีร์ พัทธ์ณศิริ สามารถ รับชมได้ในวันที่ 12 – 14 ก.ค. นี้ ที่ บางกอกซิตี้แกลเลอรี่  ติดตามหาซื้อบัตรเข้าชม พร้อมดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ https://www.ticketmelon.com/bangkokcitycitygallery/a-draft-of-dead-bird

#ADraftofDeadBirds #PuangsoiAksornsawang #PrimPatnasiri #OrnanongThaisriwong #PrapamontonEiamchan #WasuWanrayangkoon #ParineeButhrasri #bitong~xystems #BangkokCityCityGallery

#เมืองมลาย #IchöffneeinenVorhangundsehedaeinentotenVogel #ฉันเปิดม่านเพียงเพื่อจะเจอนกตาย #Iopenacurtaintoseeadeadbird

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ

‘A Draft of Dead Birds’

การแสดงสดโดย พวงสร้อย อักษรสว่าง ร่วมด้วย ปริมมี่ – วิพาวีร์ พัทธ์ณศิริ, อรอนงค์ ไทยศรีวงศ์, ประภามณฑล เอี่ยมจันทร์, วสุ วรรลยางกูร, ภาริณี บุตรศรี และ baitong~xystems

การแสดงรอบที่ 1: วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม 2567

การแสดงรอบที่ 2: วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567

การแสดงรอบที่ 3: วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม 2567

บางกอก ซิตี้ซิตี้ แกลเลอรี่ ภูมิใจนำเสนอ ‘A Draft of Dead Birds’ การแสดงสดครั้งแรกของพวงสร้อย อักษรสว่าง ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างจากหนังสือชื่อว่า ‘เมืองมลาย’ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการแสดงครั้งนี้ ผ่านเรื่องราวของนักเขียนผู้ซึ่งมีนามปากกา ‘เวลา’ เขาได้บอกเล่าเหตุการณ์ประหลาดของตนผ่านการซ้อนทับกันของตัวละครหลักชาวไทยที่ต่างพบนกตายอยู่ที่ระเบียง ในสามเมืองอย่าง เบอร์ลิน กรุงเทพฯ และสิงคโปร์ ความรู้สึกนี้แฝงเร้นไปด้วยสาระของสภาวะการตั้งอยู่ การหายไป การถูกลืมเลือน ความพยายามจะเป็นส่วนหนึ่ง หรือแม้แต่การหลีกหนี ผ่านความทรงจำของ ‘เวลา’

หนังสือเมืองมลายจะถูกส่งถึงมือของท่านก่อนการแสดงจะเกิดขึ้น ซึ่งเปรียบเสมือนการได้รับมอบอำนาจจากนักเขียนต่อการตีความอย่างอิสระ หรือแม้แต่การได้สวมบทบาทของผู้กำกับ นักแสดง ผู้ชม และอื่นๆ ขณะกระทำการอ่าน และเมื่อท่านซักซ้อมอ่านหนังสือมาก่อนหรือนำมาอ่านพร้อมกันขณะทำการแสดง ภาพฉายในระดับความคิดหรือจินตนาการอันมีมาอยู่ก่อนแล้วปะทะเข้ากับความจริงที่ปรากฏ นำพาไปสู่อาการส่องสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างตัวบท การแสดง ภาพยนตร์ เหตุการณ์รายล้อมถูกกางออกผ่านบรรยากาศของการคัดเลือกนักแสดง (Casting)

หลังจากความสำเร็จของภาพยนตร์ขนาดยาวอย่าง ‘นคร-สวรรค์’ พวงสร้อยได้ก่อร่างความคิดเขียนบทภาพยนตร์ขึ้นอีกครั้งในชื่อว่า ‘I Open a Curtain to See a Dead Bird’ แต่เนื่องด้วยข้อจำกัดหลายประการทำให้ยังคงติดอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาตั้งแต่นั้นมา พวงสร้อยทดลองหาความเป็นไปได้ของโครงการนี้ เปิดตัวครั้งแรกในปี 2563 ยังพื้นที่ บางกอก ซิตี้ซิตี้ แกลเลอรี่ ภายใต้กิจกรรม ‘Don’t Clap for the Rehearsal’ ในนาม ‘Remain to be seen, 2020’ อาศัยวิธีการคัดเลือกเรื่อง (Story Casting) ท่ามกลางกระบวนการซักซ้อมได้คลี่ขยายผ่านการอ่านออกเสียง การพูด การแสดง และการฉายภาพผ่านจอแสดงผล ถัดมาถูกต่อยอดอีกครั้งในการเวิร์คช็อป ‘A: creator’s lab’ ของกลุ่ม B-Floor Theatre

การแสดงสดในครั้งนี้ พวงสร้อยเลือกกลับมาใช้พื้นที่เดียวกับที่เคยเกิดการทดลองครั้งแรกขึ้น ทั้งอาศัยขั้นตอนการคัดเลือกนักแสดงที่ตัวพวงสร้อยมองว่าเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์พื้นที่ระหว่างเรื่องจริงและเรื่องแต่ง เรื่องส่วนตัวและเรื่องส่วนรวม ทั้งสามรอบการแสดงยังมีความพิเศษตรงแม้จะถือบทฉบับเดียวกัน แต่ความน่าสนใจอาจอยู่ที่การทำซ้ำและการสร้างใหม่ อันเกิดขึ้นจากนักแสดงผู้สวมบทบาท พวกเขาจะออกแบบ ปลดปล่อยพันธนาการ และรับมือกับความเป็นตัวเองหรือความเป็นตัวละครอย่างไร นอกจากส่วนของนักแสดงแล้วยังมีการเสริมอรรถรสจากเครื่องดนตรีสด (Live Score) และวิดีโอประกอบการแสดงอีกด้วย

ชิ้นส่วนเรื่องเล่าของการประกอบสร้างคล้ายกับอาการเชื่อมโยงกันผ่านหมู่คณะที่เกาะกลุ่มกันอย่างหลวมๆ และความลื่นไหลครั้งนี้ หลอมรวมวิธีการและประสบการณ์ที่หลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน คำถามที่ยังคงคาใจของพวงสร้อยเองและผู้ร่วมสร้างประสบการณ์ครั้งนี้จะได้คำตอบหรือไม่ ความคาดเดาต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่. หอศิลป์ว่าจะออกมาในรูปแบบใด แล้วมาพบกับบทสรุปหรืออาจจะเป็นบทนำไปสู่สิ่งใหม่ของพวงสร้อยได้ที่ ‘A Draft of Dead Birds’

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.