“ไซเบอร์ดายน์” บริษัท หุ่นยนต์ไซบอร์กการแพทย์ชั้นนำของโลกจากญี่ปุ่นเปิดตัวในไทย เชื่อมั่นศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการแพทย์ระดับโลก

0
1327

  บริษัท ไซเบอร์ดายน์ แถลงเปิดตัวธุรกิจให้บริการหุ่นยนต์ไซบอร์กทางการแพทย์เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคร้ายแรงที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งการเปิดตัวจัดขึ้นภายในงานสัมมนาการแพทย์หุ่นยนต์ล้ำยุคประจำปี 2562 (International Advanced Medical Robotics Symposium 2019) จัดขึ้นโดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS ในสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ โรงแรมสุโกศล กรุงเทพฯ

                การเปิดตัวครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากบริษัท Cyberdyne ประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับหรือเดินได้ให้มีความสามารถในการเดินหรือช่วยตัวเองได้อีกครั้งหนึ่งในหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อิตาลี โปแลนด์ ซาอุดิอาระบีย มาเลเซีย และ ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยศูนย์ฟื้นฟูกายภาพบรุ๊คส์ (Brooks Rehabilitation) ในมลรัฐฟลอริดา สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นโรงพยาบาลด้านกายภาพบำบัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่สองของสหรัฐ ได้ใช้หุ่นยนต์ไซบอร์กของ Cyberdyne ในการกายภาพบำบัดให้แก่คนไข้ที่ไม่สามารถฟื้นฟูร่างกายให้เดินเองได้ด้วยวิธีการรักษาแบบปกติ

                ศ.ดร. โยชิยูกิ ซานไค ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการ บริษัทไซเบอร์ดายน์ กล่าวว่า “มนุษย์ทุกคนเกิดมา พอมีอายุที่มากขึ้นความสามารถของร่างกายเริ่มถดถอยลง หลายคนต้องเผชิญกับโรคร้ายทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้ เช่น โรคสโตรค หรือ เส้นเลือดในสมองแตก รวมทั้งโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง จึงได้มีการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้ตลอดจนผู้สูงอายุ การทำงานของหุ่นยนต์ไซบอร์ก Cyberdyne ใช้ระบบปฏิบัติการผสมผสาน (HAL – Hybrid Assitive Limb) ซึ่งเป็นระบบที่แพทย์สามารถเลือกได้ระหว่างแบบให้คนไข้สั่งการหุ่นยนต์เองด้วยการคิด หรือ แบบอัตโนมัติ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของหุ่นยนต์ Cyberdyne ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้หุ่นยนต์ของ Cyberdyne เป็นไซบอร์กด้วย เนื่องจาก ระบบการทำงานที่คนไข้สั่งการได้เองจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างสัญญาณไฟฟ้าจากสมองมนุษย์ (Bio Electrical Signal) และระบบอิเล็กทรอนิกส์ของหุ่นยนต์ การทำงานช่วยเหลือกันอย่างเป็นหนึ่งเดียวระหว่างมนุษย์และหุ่นยนต์นี้เองทำให้หุ่นยนต์ก้าวเดินหรือขยับตามคำสั่งจากสมองมนุษย์ การฟื้นฟูร่างกายด้วยวิธีนี้จึงเปรียบเสมือนการทำงานปกติระหว่างสมองและร่างกายนั่นเอง ซึ่งจากการวิเคราะห์ผลการรักษาในคนไข้ทั่วโลกปรากฏว่า การรักษาด้วยวิธีการนี้ (Cybernic Treatment) มีผลให้เส้นใยประสาทที่ขาดไปกลับมามีปฏิสัมพันธ์กันและเชื่อมต่อกันอีกครั้ง มีผลให้คนไข้จำนวนมากสามารถขยับ เดิน และ พึ่งตนเองได้อีกครั้งหนึ่ง โดยทางไซเบอร์ดายน์ได้พัฒนาหุ่นยนต์นี้มาตั้งแต่ปี 1991 จนถึงปัจจุบัน รวมเวลาเกือบ 30 ปีจนกระทั่งหุ่นยนต์สามารถเชื่อมต่อกับความคิดของคนได้สำเร็จ”

                ดร.ซานไค ยังเผยถึงสาเหตุที่มาเปิดตัวในประเทศไทยว่า “ประเทศไทยเหมาะแก่การพัฒนาและมีความเป็นไปได้สูงที่จะกลายเป็น medical Hub แห่งหนึ่งของโลก           และด้วยวันนี้ ประเทศไทยเข้าสู่ยุค 4.0 มีการมุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการแพทย์ ตนจึงมีแนวคิดว่าจะตั้งเป็นสมาคมประชาชาติเอเชียในการวิจัยและพัฒนาหุ่นยนต์ ล้ำสมัยขึ้นมาโดยอาศัยความร่วมมือกับรัฐบาลไทย รวมถึง TCELS ในการให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประชาชาติอาเซียนที่สามารถพัฒนาหุ่นยนต์ชั้นสูงในการรักษาทางการแพทย์ได้” ดร.ซานไค กล่าว

                ด้านดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ (TCELS) กล่าวว่า เราอยากให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมทางการแพทย์ แต่ในขณะเดียวกัน ต้องช่วยยกระดับคุณภาพชีวีตของประชาชนด้วย ซึ่งการวิจัยอาจจะเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย หรือมีสถาบันอื่นๆเข้ามาช่วย แต่สุดท้ายแล้ว ถ้าจะไปให้ถึงมือผู้ใช้จริง เราจำเป็นต้องให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม  ซึ่งการดูแลสุขภาพของคนไม่ใช่เรื่องผูกขาด  จำเป็นต้องดึงเอาองค์ความรู้จากต่างประเทศมาหรือเราต้องพัฒนาความรู้ของเราเองแล้วไปแลกเปลี่ยนกับต่างประเทศ

                สำหรับการพัฒนาหุ่นยนต์ไซเบอร์ดายน์   ตนเชื่อว่าในอนาคตหากมีการร่วมมือพัฒนา ถ่ายทอดเทคโนโลยี ทำวิจัยร่วมกัน จะสามารถไปได้ไกล ส่วนการเข้าถึงผู้ป่วยเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นมาก ซึ่งได้มีการคุยกันว่าถ้าแพง เกินไปอาจจะทำได้ในวงจำกัด จึงอยากให้เกิดการร่วมกันพัฒนาให้เทคโนโลยีแผ่ขยายไปในวงกว้าง  และสุดท้าย หากได้ผลจริง และมีการวางระบบที่ดี ตนเชื่อว่าหลักประกันสุขภาพจะสามารถเข้ามามีบทบาทในระบบเบิกจ่ายได้  ซึ่งจะเป็นอีกเส้นทางนึงที่จะทำให้คนไทยเข้าถึงเทคโนโลยีทางการแพทย์”  ดร.นเรศ กล่าว

                Cyberdyne ให้บริการเช่าหุ่นยนต์ไซบอร์กทางการแพทย์เพื่อฟื้นฟูความสามารถในการทำงานของส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คนที่เป็นอัมพาตส่วนล่างตั้งแต่เอวลงไปถึงเท้าจะใช้ไซบอร์กรุ่นระบบขา (HAL Lower Limb Type), คนไข้ที่ไม่สามารถยกตัวขึ้นได้หรือสูญเสียความสามารถในการนั่งจะใช้ไซบอร์กระบบเอว (HAL Lumbar Type), คนไข้ที่ไม่สามารถยืดหรือหดข้อได้ ไม่ว่าจะเป็นข้อแขน มือ เข่า หรือ เท้า จะใช้ไซบอร์กระบบข้อ (HAL Single Joint Type) และ คนไข้ที่มีปัญหาในการขยับนิ้วมือจะใช้ระบบมือในการช่วยฟื้นฟูความสามารถในการหยิบจับกำและแบมือ (Hand of Hope)

                 โดย Cyberdyne จะให้บริการเช่าหุ่นยนต์ไซบอร์กทางการแพทย์ผ่านการให้บริการของโรงพยาบาลหรือคลินิกฟื้นฟูกายภาพเท่านั้น โดยมีตัวแทนอย่างเป็นทางการในประเทศไทย คือ Zignature Robotics ผู้สนใจสามารถติดต่อได้ที่ 02-115-8981 ตามเวลาราชการ หรือ admin@zignature.co.th

สั่งจองนิตยสาร Howe โดยไม่ต้องรอหาตามแผงสั่งได้ที่
Line : Howemagazine
  Fanpage : Howemagazine
รายละเอียดการสั่ง (คลิ๊ก)

อ่านนิตยสาร Howe Magazine ออนไลน์ได้ที่

Ookbee-Logo
LOGO-MEB-2017
Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.