แอโรบิกรำไทย

0
1346
young beautiful girl have some exercises in the meadow

แอโรบิกรำไทย

 

การเบิร์นไขมันแบบไทย ทั้งสนุกและได้ประโยชน์ รวมถึงได้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทยไปด้วยในตัว ถ้าพร้อมแล้วไปเตรียมนุ่งโจงกระเบน มาออกกำลังกายเรียกเหงื่อกันดีกว่าค่ะ

 

รู้จักกับแอโรบิกรำไทย

“แอโรบิกรำไทย” คือ ไอเดียการออกกำลังกายแนวใหม่ ที่หยิบยกเอาความเป็นไทย อย่างการร่ายรำอันอ่อนช้อย บวกกับท่วงท่าของศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย อันเป็นศิลปะประจำชาติของไทยที่เราทุกคนต่างก็คุ้นเคยกันมาตั้งแต่วัยเยาว์ ซึ่งในสมัยเด็กๆ ทุกคนต้องเคยผ่านหลักสูตรวิชานาฏศิลป์ หรือเคยเรียนรำไทยกันมาแล้วทั้งนั้น และท่วงท่าการร่ายรำเหล่านี้ถูกนำมาผสมผสานกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิก ประกอบเข้ากับจังหวะเพลง ควบรวมกันเป็น “แอโรบิกรำไทย” ช่วยต่อยอดนาฏศิลป์ไทยให้เกิดประโยชน์ไปพร้อมกับร่างกายที่แข็งแรง

 

 คุณประโยชน์

การจับจีบ ตั้งวง ย่อ ย่ำเท้า ก้าวขา หมุนข้อมือ หมุนข้อเท้า และอีกหลายท่วงท่าทางการร่ายรำ รวมถึงการนำเอาท่าทางของตัวละครต่างๆ ในวรรณคดี มาเป็นต้นแบบในการดีไซน์และประยุกต์ให้เกิดเป็นท่าทางการออกกำลังกาย ซึ่งท่วงท่าการร่ายรำเหล่านี้ ให้ประโยชน์กับกล้ามเนื้อมัดเล็ก ไปจนถึงกล้ามเนื้อมัดใหญ่ ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต เพิ่มความแข็งแรงแก่กล้ามเนื้อ ข้อต่อ ช่วยให้ระบบการทำงานของหัวใจและหลอดเลือดดีขึ้น ช่วยลดความดันโลหิต ลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ ลดอาการชาปลายมือปลายเท้า ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ชะลอความเสื่อมของเซลล์สมอง ลดความเครียด ช่วยให้นอนหลับง่ายขึ้น

เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อร่างกายอย่างเห็นผล ควรออกกำลังกายต่อเนื่องอย่างน้อยครั้งละ 30 นาที และทำเป็นประจำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง

ด้วยประโยชน์ที่เกิดจากความสร้างสรรค์นี้ ทำให้ในหลายหน่วยงานของรัฐฯ ได้นำไปทำการศึกษา พัฒนา และวิจัยร่วมกับโรงพยาบาลและสถาบันการศึกษาต่างๆ เพื่อขยายผลไปยังเครือข่ายเสริมสร้างสุขภาพในชุมชน โดยมีเป้าหมายมุ่งเน้นไปที่กลุ่มของเด็กและผู้สูงอายุ ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงขึ้น

 

3 ขั้นตอนสำคัญ

  1. ขั้นตอนการอบอุ่นร่างกาย (Warm Up) เป็นช่วงการอบอุ่นร่างกายเพื่อเพิ่มความพร้อมสำหรับการออกกำลังกายที่หนักหน่วงมากขึ้นในขั้นตอนต่อไป ควรอบอุ่นร่างกายด้วยการเริ่มออกกำลังอย่างช้าๆ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที
  2. ขั้นตอนการออกกำลังกาย (Aerobic) – เป็นช่วงของการออกกำลังกายต่อเนื่อง ต่อจากขั้นตอนการอบอุ่นร่างกาย ใช้เวลาประมาณ 20 นาที
  3. ขั้นตอนการผ่อนคลาย (Cool Down) – เป็นช่วงสุดท้ายของการออกกำลังกาย ที่ต้องออกกำลังกายอย่างช้าลงเพื่อเป็นการยืดหยุ่นกล้ามเนื้อ ให้ร่างกายผ่อนคลายความเหนื่อยล้าลง ใช้เวลาประมาณ 5 นาที

 

ข้อควรระวัง

หากรู้สึกวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เหนื่อยหอบ ให้หยุดพักทันที

 

ข้อมูลอ้างอิงบางส่วนจาก : www.bcns.ac.th

 

 

 

สั่งจองนิตยสาร Howe โดยไม่ต้องรอหาตามแผงสั่งได้ที่
Line : Howemagazine
Fanpage : Howemagazine
รายละเอียดการสั่ง (คลิ๊ก)

 อ่านนิตยสาร Howe Magazine ออนไลน์ได้ที่

Ookbee-Logo

LOGO-MEB-2017

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.