ปีติ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ทรงรับพะยูน 2 ตัว ไว้ในพระอุปถัมภ์

0
1467

เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2562 เพจ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โพสต์ภาพงานแถลงข่าวพร้อมแจ้งข่าวดีว่า สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน์ราชกัญญา ทรงรับพะยูนน้อยทั้ง 2 ตัว ไว้ในโครงการอนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริฯ และทรงประทานชื่อให้กับพะยูนเพศผู้ตัวใหม่ที่เพิ่งเกยตื้นว่า “ยามีล”

“ทช. แถลงข่าวสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ฯ ทรงรับพะยูนทั้ง 2 ตัว ไว้ในโครงการอนุรักษ์แนวปะการังฯ” เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพระกรุณาพระราชทานชื่อให้แก่ลูกพะยูนเกยตื้นตัวล่าสุด ที่จังหวัดกระบี่ว่า ยามีล เป็นภาษายาวี มีความหมายว่าชายรูปงามแห่งท้องทะเลและทรงรับลูกพะยูนมาเรียมและลูกพะยูนยามีล ไว้ในโครงการ “อนุรักษ์แนวปะการังและสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลไทย ในพระดำริพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์”

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ร่วมกับกองทัพเรือ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในฐานะที่เป็นหน่วยงานรับสนองพระดำริฯ จัดแถลงข่าวขึ้น โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยพลเรือตรี ธีรกุล กาญจนะ รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ กองทัพเรือ และนายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เข้าร่วมงานแถลงข่าว ณ ห้องประชุมลำแพน ชั้น ๙ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ทั้งนี้ อธิบดี ทช. กล่าวว่า โครงการฯ ดังกล่าว ได้กำหนดกลุ่มงานอนุรักษ์สัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ โดยมีแผนงานสนับสนุนการอนุรักษ์พะยูน มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยพะยูนไปขยายผลในระดับประเทศ รวมถึงใช้ประโยชน์ในระดับชุมชนและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนพื้นที่บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง และพื้นที่ใกล้เคียงที่มีแหล่งพะยูนและหญ้าทะเล เพื่อกำหนดเป็นโมเดลหลักในการนำไปใช้ในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ ที่มีแหล่งพะยูนและแหล่งหญ้าทะเลได้ในอนาคต ดังนั้นถือเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงที่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทรงพระกรุณาพระราชทานชื่อให้แก่ลูกพะยูนเกยตื้นตัวล่าสุด ที่จังหวัดกระบี่ว่า ยามีล ซึ่งมีความหมายในภาษายาวี ว่าชายรูปงามแห่งท้องทะเลและทรงรับลูกพะยูนทั้ง 2 ตัวไว้ในโครงการฯ จึงนับเป็นพระเมตตาและเป็นที่ปลาบปลื้มใจอย่างยิ่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานดูแลลูกพะยูนทั้ง 2 ตัว อีกทั้งยังเปรียบเสมือนการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนได้เห็นถึงความสำคัญของระบบนิเวศทรัพยากรทางทะเลและสัตว์ทะเลหายาก

นอกจากนี้ จ.ตรัง และหน่วยงานภาคเอกชน ได้จัดตั้งเป็นกองทุนเพื่อช่วยเหลือพะยูนและอนุรักษ์พะยูนไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากทะเลตรัง เพราะจังหวัดตรังเป็นถิ่นอาศัยของพะยูนฝูงใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยตั้งชื่อ เป็น “กองทุนมาเรียม เพื่อการอนุรักษ์พะยูนตรัง” และจะมีการจัดกิจกรรม “ปั่นปันน้ำใจ ให้พะยูนน้อย” ในวันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม 2562 ซึ่งเส้นทางการปั่นจักรยานจะเริ่มต้นจากสถานีรถไฟกันตัง สิ้นสุดที่เกาะลิบง ทั้งนี้ ผู้สมัครเข้าร่วมปั่นจักรยานจะได้รับเสื้อ “พะยูนน้อย” ราคาตัวละ 300 บาท โดยค่าสมัครทั้งหมดจะนำเข้ากองทุนมาเรียมเพื่อการอนุรักษ์พะยูนตรัง ในการดูแล รักษาพะยูนที่ได้รับบาดเจ็บ หรือนำไปซื้อเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อมาทำการรักษาพะยูนได้ทันท่วงทีต่อไป

ขอบคุณภาพจาก เพจ HRH Princess Sirivannavari Nariratana Rajakanya  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

สั่งจองนิตยสาร Howe โดยไม่ต้องรอหาตามแผงสั่งได้ที่
Line : Howemagazine
Fanpage : Howemagazin
รายละเอียดการสั่ง (คลิ๊ก)

  อ่านนิตยสาร Howe Magazine ออนไลน์ได้ที่

Ookbee-Logo
LOGO-MEB-2017

Facebook CommentsFacebook CommentsFacebook CommentsFacebook CommentsFacebook Comments

Facebook Comments

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.